Wednesday 29 September 2010

พิจารณา South bridge & North bridge


ประเด็นนี้มาจากเรื่องก่อนหน้านี้ที่ผมประกอบ PC ใหม่มีพี่ๆมาบอกว่าซื้อ Mainboard พิจารณา Chipset NB กับ SB ด้วยน่ะ ผมก็เคยได้ยินมาบ้างเหมือนกันแต่ไม่เคยใส่ใจเท่าไหร่แต่ก็เชื่อพี่ๆเขาเพราะเขาคงเห็นว่ามันดีจึงแนะนำ เลยกลับมานั่งหาข้อมูลเพิ่มเติมว่าจริงๆแล้วมันดียังไงเพราะ Chip ยิ่งสูงราคามันก็แพงเหมือนกันเลยต้องพิจารณาให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อมัน ทีนี้ใครจะเลือกประกอบคอมฯก็พิจารณาจาก Spec ที่เราได้ยินได้ฟังมาว่าศัพท์แต่ละคำมันหมายถึงอะไร

:: ตามที่ผมเข้าใจตอนนี้ ::

Northbridge >> The Northbridge usually contains the CPU interface and the memory controller.



Northbridge มันคือส่วนของชิปเซตที่ทำหน้าที่ติดต่อระหว่าง ซีพียู และ ส่วนควบคุมการเชื่อมต่อกับหน่วยความจำ (Control Interaction with Memory) , ส่วนควบคุม PCI , cache แบบ L2 ,ส่วนควบคุม AGP โดย Northbridge จะติดต่อกับ ซีพียู โดยผ่านทาง FSB

ชิบเซต North Bridge เป็นชิปเซตที่มีความสำคัญมากที่สุด มีหน้าที่ควบ คุมการ รับ / ส่งข้อมูลของซีพียูและแรม ตลอดจน
สล็อต AGP ที่ใช้แสดงผลรุ่นใหม่ ที่ทำงานด้วยความเร็วสูงปกติชิปเซตชนิดนี้ถูกปิดด้วยแผงระบายความร้อน
หรือบางตัวมีการ์ดแสดงผลอยู่ข้างในทำให้ต้องติดตั้งพัดลมเพิ่มเติมอีก ชิปเซตนี้ต้องระบายความร้อน
เนื่องจาก อุปกรณ์นี้ทำงานด้วยความเร็วสูงทำให้เกิดความร้อนขณะทำงาน

Southbridge >> contains at least a PCI controller, floppy/ IDE/ hard disk controllers, serial and parallel ports, USB support and power management functions.




Southbridge คือส่วนของชิปเซตที่จัดการเกี่ยวกับการรับ-ส่งข้อมูลภายนอก (input/output I/O) เช่น USB, serial , IDE, ISA โดย Southbridge จะส่งข้อมูลบน PCI Bus ของ Northbridge อีกต่อหนึ่ง

ชิปเซต South Bridge ชิปที่มีขนาดเล็กมากกว่า North Bridge ทำหน้าที่ควบคุมสล็อตของการ์ดอื่น ๆ ควบคุมดิสก์ไดร์ต่าง ๆ
รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคีร์บอร์ด ,เมาส์ ,หรือพอต ต่าง ๆ ที่อยู่หลังเครื่อง

:: เพิ่มเติม ::


  • FSB (Front Side Bus) : FSB คือเส้นทางส่งข้อมูลและเชื่อมต่อระหว่างซีพียูและหน่วยความจำหลัก 
  • สำหรับความหมายในการโอเวอร์คล็อกจะหมายถึง ความเร็วในหน่วยเมกะเฮิรตซ์ (MHz) โดยเลขยิ่งสูง ข้อมูลยิ่งส่งกันได้เร็ว


  • DDR (Double Data Rate) : อัตราส่งข้อมูลแบบสองเท่า หรือเรียกทั่วไปว่า DDR 
  • ซึ่งกลายเป็นนิยามยอดนิยมสำหรับคอมพิวเตอร์ในยุคนี้
  •  เริ่มต้นจากการที่ความเร็วที่สูงเกินยั้งของซีพียูแต่ส่วนอื่นๆ เช่น หน่วยความจำ ยังแรงไม่พอ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาของหน่วยความจำแบบ DDR ที่รองรับการส่งข้อมูลได้สองครั้งในแต่ละรอบสัญญาณนาฬิกา (ส่งทั้งขอบขาขึ้นและขอบขาลงของสัญญาณนาฬิกา) ทำให้หน่วยความจำสามารถส่งข้อมูลได้มากขึ้นและประสิทธิภาพก็มากขึ้นด้วย 
  • ไม่เพียงแค่หน่วยความจำได้เร็วขึ้นเป็นสองเท่าเพียงอย่างเดียว แต่ยังเพิ่มความเร็วในการส่งข้อมูลระหว่างหน่วยความจำและเมนบอร์ดเพิ่มขึ้นสองเท่าอีกด้วยเช่นกัน


งั้นเวลาเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ก็ควรพิจารณาดีๆก่อนตัดสินใจซื้อ ถ้าใครอยากเน้นเรื่องทำงานเกี่ยวกับ CPU RAM ก็ไปดูตรง Northbridge ถ้าอยากเน้นเรื่องการโอนถ่ายข้อมูลกับ Harddisk ก็ไปเน้น Southbridge น่ะครับ