Monday, 16 August 2010
พลังงานทดแทนในอนาคต
ได้มีโอกาสเข้าไปอ่านเรื่องพลังงานทดแทนในอนาคตว่าต่อไปจะมีพลังงานให้เราได้ใช้อย่างสะดวกไปอีกนานแค่ไหน แต่ก็เป็นที่น่าดีใจว่า ปัจจุบันนี้ประเทศไทยเราตระหนักถึงการนำพลังงานทดแทนมาใช้เป็นอย่างมาก
เห็นได้จากโครงการ “ลพบุรี โซลาร์” โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ขนาดกำลังผลิต 73 เมกะวัตต์ นับเป็นก้าวสำคัญและเป็นอภิมหาโปรเจคของประเทศไทยในการนำพลังงานทางเลือกมาใช้ในประเทศ
แต่ผมว่าเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดคือ การเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และแสงอาทิตย์เป็นน้ำมันโดย ตรง ไม่ต้องผ่านตัวกลางซึ่งก็คือพืชนั่นเอง
โดยอาศัยจุลชีพที่สังเคราะห์แสงได้ (photosynthetic microorganisms) ซึ่งได้จากการตัดแต่งหรือสังเคราะห์ยีนขึ้นมาให้มันมีความสามารถดังกล่าว เรียกว่า Synthetic Biology
ปัจจุบันนั้นได้มีนักวิจัยหลายกลุ่ม กำลังพยายามค้นหาและสังเคราะห์สิ่งมีชีวิตดังกล่าว รวมทั้ง Craig Venter ได้ก่อตั้งบริษัท Synthetic Genomics เพื่อสังเคราะห์สิ่งมีชีวิตนี้
แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าเรายังใช้พลังงานกันแบบปัจจุบัน คาดการณ์ว่าถึงปี ค.ศ.2050 พลังงานทดแทนจากชีวมวลและเอทานอล ก็ยังคงเป็นเพียงร้อยละ 26 ของพลังงานที่ใช้สำหรับการคมนาคมขนส่งอย่างเดียว
การพยายามเพื่อหาพลังงานมาทดแทนน้ำมันนั้น มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง เพียงแต่เมื่อไรมนุษย์จะตระหนักได้ว่า ถ้าลดการใช้อย่างสิ้นเปลือง เราคงมีพลังงานใช้กันได้นานขึ้น และลดมลภาวะ แต่ยิ่งถ้าผลิตมากใช้มาก มันจะไม่ต่างอะไรกับการเผาโลกที่เราอยู่นี้เลย